10 ขั้นตอนการสร้างบ้าน ตั้งแต่ต้นจนจบ ให้ได้บ้านคุณภาพ

10 ขั้นตอนการสร้างบ้าน ตั้งแต่ต้นจนจบ ให้ได้บ้านคุณภาพ

การวางแผนการสร้างบ้านตั้งแต่ต้นจนจบจะช่วยคุณประหยัดเวลาและเงินในระยะยาว เรา การสร้างบ้านด้วยตนเองจะรับประกันได้ว่าจะมีบ้านในฝันที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณ ทั้งด้านการออกแบบและไลฟ์สไตล์ แต่คำถามคือจะเริ่มสร้างบ้านในฝันด้วยตนเองได้ที่ไหนและอย่างไร? ตั้งแต่การค้นหาที่ดินและลำดับขั้นตอนการก่อสร้างบ้านนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาว่าจ้าง เพราะมีลำดับค่างวดงานควบคู่กับการจ่ายเงิน เป็นต้น

เราได้รวบรวมคำแนะนำที่เป็นประโยชน์โดยสรุปลำดับขั้นตอนการสร้างบ้านใหม่เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจในแต่ละกระบวนการ ต่อไปนี้เป็น 10 ขั้นตอนการก่อสร้างบ้าน

cibes home lift large long banner
cibes home lift square banner

1. เตรียมพื้นที่เพื่อการก่อสร้างบ้าน

เตรียมพื้นที่เพื่อการก่อสร้างบ้าน

เมื่อทำการปรึกษาสถาปนิกหรือนักออกแบบเพื่อสร้างแบบแปลนโดยละเอียดสำหรับบ้านที่มี 4 อย่างหลัก ๆ คือ แบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบวิศวกรรมไฟฟ้า และแบบสุขาภิบาล เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงการเตรียมพื้นที่ อย่างแรกคือทำสัญญากับผู้รับเหมา ทางผู้รับเหมาจะเริ่มเข้าหน้างานเตรียมพื้นที่ กำหนดจุดวางและขนย้ายเครื่องมืออุปกรณ์ ดังนี้

  • ผู้รับเหมาเข้ามาเคลียร์พื้นที่หน้างาน 
  • ขนย้ายเครี่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าพื้นที่
  • ทำการก่อสร้างที่พักคนงาน
  • ดำเนินการขอน้ำหรือไฟฟ้าชั่วคราวเพื่อใช้ทำงาน

สำหรับผู้ที่ต้องการติดลิฟท์บ้าน ควรปรึกษาสถาปนิกเพื่อเตรียมวางลิฟท์ลงไปในแปลนเลย ซึ่งจะทำให้วันที่ติดตั้งลิฟท์เป็นไปได้อย่างราบรื่น

2. งานวางผังอาคาร

งานวางผังอาคาร

เมื่อเตรียมพื้นที่เรียบร้อย ก็ถึงเวลาเริ่มวางผังแนวอาคารซึ่งเป็นการกำหนดตำแหน่งของเสาเข็มโดยอ้างอิงจากแบบบ้าน เพื่อให้ทุกฝ่ายทั้งเจ้าของบ้าน ผู้ออกแบบ วิศวกร บริษัทรับเหมาก่อสร้าง และบริษัทรับเหมางานเสาเข็มมีความเข้าใจที่ตรงกัน การอ่านแบบแปลนได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถดูการวางผังรอบบริเวณการก่อสร้างของช่างเบื้องต้นได้ว่าตรงตามแบบไหม รวมถึงพิจารณาว่าระยะถอยร่นของแนวอาคารทุกด้าน ถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนดหรือไม่

3. งานเสาเข็ม

งานเสาเข็ม

เสาเข็มคือส่วนที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวบ้าน โดยใช้แรงที่เกิดจากแรงเสียดทานของดินกับพื้นที่ผิวรอบเสาเข็มหรือสามารถใช้การถ่ายตรงลงสู่ชั้นดินหรือหินโดยตรง เพื่อไม่ให้บ้านหรืออาคารทรุดจมลงไปในดิน สำหรับงานเสาเข็มควรจะเป็นหน้าที่ของบริษัทรับเหมางานเสาเข็มโดยเฉพาะ ซึ่งทางผู้ออกแบบจะสำรวจหน้างานและกำหนดมาแล้วว่าบ้านแต่ละหลังเหมาะจะใช้เสาเข็มแบบใด ซึ่งมีสองแบบคือ 

  • เสาเข็มตอก
  • เสาเข็มเจาะ 

เสาเข็มจะต้องมีต้องทดสอบความแข็งแรง เพื่อที่จะสามารถรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐาน 

4. งานฐานรากโครงสร้างชั้นล่าง

งานฐานรากโครงสร้างชั้นล่าง

หัวใจสำคัญของการก่อสร้างคืองานฐานราก เมื่อได้ทำการตัดหัวเสาเข็มแล้ว ผู้รับเหมาหลักจะเริ่มงานส่วนโครงสร้างฐานราก ซึ่งประกอบด้วย

  • โครงสร้างฐานราก 
  • คานคอดิน 
  • เสาและคาน
  • ระบบพื้น
  • ระบบสุขาภิบาล

โดยต้องทำตามที่วิศวกรได้คำนวณไว้ซึ่งต้องใช้เวลาในการบ่มคอนกรีตและถอดแบบ ค้ำยัน เพื่อให้โครงสร้างมีความแข็งแรง พร้อมรับน้ำหนักโครงสร้างที่เหลือ โดยควรจะมีการกำหนดแนวของระบบท่อต่าง ๆ ไว้เพื่อวางระบบท่อไว้ก่อน หลังจากนั้นโดยทั่วไปการเทคานนั้นจะใช้คอนกรีตสำเร็จ

5. งานโครงสร้างชั้นสอง

งานโครงสร้างชั้นสอง

ถ้าบ้านมีชั้นสอง โครงหลังคา และโครงสร้างงานระบบสุขาภิบาล งานโครงสร้างชั้นสองก็ทำเช่นเดียวกับโครงสร้างชั้นล่าง ซึ่งโครงสร้างแต่ละส่วนจะต้องใช้ระยะเวลาบ่มคอนกรีตเช่นเดียวกับโครงสร้างชั้นล่าง นอกจากนี้จะเริ่มขึ้น 

  • ระบบพื้นชั้นบนหรือพื้นชั้นสอง 
  • เสาและคาน
  • อเส หรือ อะเส
  • วัสดุตกแต่งอื่น ๆ
  • โครงสร้างหลังคา

สำหรับคนที่มีบ้านเพียงชั้นเดียว สามารถมาสู่ขั้นตอนของการวาง คาน หรือ เริ่มต้นสร้างโครงหลังคาได้เลย

cibes home lift square banner
cibes home lift large long banner

6. งานมุงหลังคาและโครงสร้างบันได

งานมุงหลังคาและโครงสร้างบันได

เมื่องานโครงสร้างหลักเสร็จเรียบร้อย จะเริ่มติดตั้งวัสดุมุงหลังคา  ในช่วงนี้จะเริ่มหล่อโครงสร้างบันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือติดตั้งบันไดตามที่แบบระบุ นอกจากนี้อาจเก็บงานโครงสร้างในส่วนอื่น ๆ ให้พร้อมก่อนเริ่มงานก่อผนังและติดตั้งวัสดุปิดผิว

โครงสร้างของหลังคาอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

    • โครงหลังคา
    • วัสดุมุงหลังคา

7. งานก่อผนัง

งานก่อผนัง

ในตอนนี้จะเข้าสู่การก่อผนัง โดยทั่วไปจะมีสองแบบคือ ผนังแบบก่ออิฐและผนังเบา ซึ่งในตอนนี้จะต้องมีการเดินท่อแบบต่าง ๆ ที่ฝังไว้ด้านใน จะมีระบบไฟฟ้าและประปา โดยยังรวมถึงติดตั้งวงกบไม้ประตูและหน้าต่าง แคำแนะนำให้การก่อผนังมีความแข็งแรงสูงสุดคือต้องทำเสาเอ็นและคานทับหลังเพราะติดกับรอบขอบหน้าต่างและประตู

8. งานฉาบผนัง และงานติดตั้งฝ้าเพดาน

งานฉาบผนัง และงานติดตั้งฝ้าเพดาน

ในตอนนี้มาถึงการจะทำให้บ้านกับการฉาบผนังมีความสวยงามเรียบสม่ำเสมอกัน ในงานฉาบผนังก่ออิฐ จะต้อง จับปุ่ม จับเซี้ยม หรืออาจขึง ลวดกรงไก่ เพื่อฉาบผนังให้เรียบสม่ำเสมอ ส่วนผนังเบาจะต้องฉาบเก็บรอยต่อระหว่างแผ่นผนังให้เรียบเนียน เตรียมพร้อมก่อนขั้นตอนการปิดผิว คำแนะนำคือควรให้ช่างหรือผู้รับเหมา ทำการฉาบผนังให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน 1 แผง เพื่อทำให้แน่ใจว่ามีความเรียบเนียนถูกต้อง 

9. งานวัสดุตกแต่งพื้นผิว

งานวัสดุตกแต่งพื้นผิว

ติดตั้งอุปกรณ์ ติดตั้งประตู-หน้าต่าง และงาน Build-In วัสดุปิดผิวแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติ ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติด้านความแข็งแรง การป้องกันรอยและป้องกันความชื้น 

9.1 วัสดุตกแต่งผนังและพื้น

มีวัสดุหลายประเภทสำหรับการตกแต่งผนังและพื้น โดยแต่ละประเภทมีความสวยงาม ความทนทาน และข้อกำหนดในการบำรุงรักษาที่แตกต่างกัน เช่น ทาสี ฉาบ Skim Coat ปูกระเบื้องเซรามิก ติดวอลล์เปเปอร์ ส่วนวัสดุพื้น เช่น หินขัด ปูกระเบื้องเซรามิก ไม้ปาร์เกต์ ไม้ลามิเนต เป็นต้น

 9.2 ระบบแสงสว่าง

ในขั้นตอนนี้ คำแนะนำคือหากบ้านมีพื้นที่มากควรแยกติดตั้งระบบโดยใช้สวิตช์แยกกันเป็นชุด ด้วยวิธีนี้จะสามารถเลือกเปิดปิดไฟได้ในบ้านแต่ละพื้นที่ การติดตั้งแสงสว่างในบ้านจะเริ่มในช่วงเวลานี้ นอกจากนี้ช่างจะเดินสายไฟเชื่อมกับสวิตช์ไฟ ปลั๊ก และติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

9.3 ติดตั้งบานประตู

ควรวัดขนาดหน้างานก่อนเป็นอย่างแรก ขั้นตอนนี้จะเป็นการติดตั้งบานประตู บานกระจก หน้าต่างเข้ากับวงกบไม้ที่ติดตั้งเอาไว้ก่อนหน้านี้ โดยลำดับต่อไปคือวัดระยะการติดตั้งบานพับเพื่อความแข็งแรง ต่อจากนั้นแค่ยิงสกรูเข้ากับบานพับทั้ง 3 ด้าน ก็จะได้ประตูแล้ว

9.4 งาน Build-in

หมายถึงการสร้างหรือติดตั้งสิ่งของบางอย่างโดยตรงในสถานที่หรือพื้นที่ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมักนิยมในการจัดทำงานที่ปรับแต่งหรือตกแต่งภายในบ้านหรือสถานที่ทำงาน ตัวอย่างงาน Build-In ที่พบบ่อยได้แก่ การสร้างตู้ ชั้นวางของ เป็นต้น

9.5 ติดตั้งสุขภัณฑ์ในห้องน้ำและเครื่องครัว 

คือการจัดเตรียมระบบสุขาภิบาล การติดตั้งวาล์วเปิดปิดน้ำ การติดตั้งโถส้วม วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่อติดตั้งแล้วควรคลุมด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันฝุ่นละออง รอยขีดข่วน และสีที่อาจกระกระเด็นในช่วงการเก็บงาน 

9.6 สวนและทางเดินรอบบ้าน

อาจเริ่มทำในช่วงนี้ หรืออาจทำในช่วงที่บ้านสร้างเสร็จแล้วก็ได้ โดยส่วนมากสวนและทางเดินก็ตามความชอบของคนในบ้าน การใช้งานคอนกรีตหรือตกแต่งเพิ่มด้วยหินกรวด เป็นต้น

10. ขั้นตอนการเก็บงาน 

ขั้นตอนการเก็บงาน 

ในขั้นตอนนี้เราต้องมีความละเอียดรอบคอบ ในระหว่างการตรวจสอบและหลังการตรวจบ้าน ควรจดบันทึกจุดตำหนิให้ครบถ้วนหรือถ่ายรูปเก็บไว้ เนื่องจากจะต้องใช้เปรียบเทียบอีกครั้งหลังจากที่แก้ไขเรียบร้อยแล้ว โดยควรให้ช่างจะเก็บรายละเอียดต่างเช่น งานทาสี ตรวจสอบงานระบบ จากนั้นจะเริ่มทำความสะอาด

ท้ายที่สุดแล้ว คุณต้องคำนึงถึงถึงการจ้างผู้รับเหมาที่มีคุณภาพเสมอเนื่องจากบ้านคือการใช้งานระยะยาว รวมถึงความเสี่ยงบางส่วนที่คุณต้องระวังทำการตัดสินใจอย่างรอบคอบ

cibes home lift large long banner
cibes home lift square banner

ท้ายที่สุดแล้ว คุณต้องคำนึงถึงถึงการจ้างผู้รับเหมาที่มีคุณภาพเสมอเนื่องจากบ้านคือการใช้งานระยะยาว รวมถึงความเสี่ยงบางส่วนที่คุณต้องระวังทำการตัดสินใจอย่างรอบคอบ


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลิฟท์บ้านหรู ระบบสกรูของเรา สามารถติดต่อเราได้ที่ https://cibeslift.co.th/homelift-form เพื่อรับการติดต่อกลับพร้อมนำเสนอราคา